กศน.ตำบลบ้านผึ้ง ยินดีต้อนรับ รับสมัครนักศึกษา กศน. ตั้งแต่วันที่ 1-30 เมษายน และ 1-31 ตุลาคม ของทุกปี โทรติดต่อ 064-3314777 นายดนุพล อุตตมะ ครู กศน.ตำบลบ้านผึ้ง

ปราชญ์/ภูมิปัญญา


ภูมิปัญญาด้านจักสาน


1. ประวัติส่วนตัว : นางกอบแก้ว  บัวสุวรรณ               อายุ  48  ปี           อาชีพ  เกษตรกรรม
2. ความเป็นมาในการเป็นภูมิปัญญา :
             ได้มีการเรียนรู้จากบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย เนื่องจากอดีตยังไม่ได้มีการพัฒนาถึงทุกวันนี้ จึงได้มีจัดทำเครื่องจักสานเพื่อใช้ในครัวเรือน ได้มีการถ่ายทอดให้กับลูกหลานต่อ ๆ กันมารุ่นต่อรุ่นจนถึงปัจจุบัน                 และในปัจจุบันได้มีการพัฒนาต่อยอดการทำเครื่องจักสาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก กศน. อำเภอเมืองนครพนม โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ได้มีการศึกษาดูงาน จัดหาวิทยากรให้ความรู้ด้านการออกแบบลวดลายให้มีความหลากหลาย และรูปแบบตามความต้องการของลูกค้า และนอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนา             การจักสานจากเดิมจะใช้แต่ไม้ไผ่และหวายในการจักสานเท่านั้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนานำเอา กก ผือ ไหล และเส้นพลาสติก เป็นต้น มาใช้จักสานและมีรูปแบบและลวดลายที่สวยงาม
3. กิจกรรม/โครงการที่ทำในปัจจุบัน
             เป็นวิทยากรให้ความรู้กลุ่มจักสาน กศน. อำเภอเมืองนครพนม และจัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านจักสานในชุมชน เพื่อให้คนที่สนใจในด้านจักสานได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และได้จัดตั้งเป็นกลุ่มจักสานขึ้น เพื่อให้คนที่ว่างงานหรือผู้ที่มีความสนใจได้มีการเรียนรู้และทำเป็นอาชีพเสริมได้
4. การช่วยเหลือชุมชนในปัจจุบัน
             เป็นวิทยากรให้ความรู้กับผู้ที่มีความสนใจในการจักสาน เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีอาชีพเสริม และมีรายได้จากการว่างงาน
5. การช่วยเหลือการศึกษาในระบบ
             - สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนในระบบภายในชุมชน
             - แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านจักสานให้กับนักเรียนได้มีการศึกษาดูงาน
6. การช่วยเหลือการศึกษานอกระบบ
             - จัดนิทรรศการแสดงผลงานด้านจักสาน
             - เป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านจักสาน
             - แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านจักสานให้กับผู้ที่สนใจ
7. การช่วยเหลือการศึกษาตามอัธยาศัย
             - เแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านจักสานประจำตำบล
             - จัดนิทรรศการแสดงผลงานด้านจักสาน
             - การเรียนรู้ที่ไม่มีหลักสูตร

ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม (เกษตรผสมผสาน)





1. ประวัติส่วนตัว: นางสาวปราณี โคตะมะ                  อายุ  47  ปี           อาชีพ  เกษตรกรรม
2. ความเป็นมาในการเป็นภูมิปัญญา:
             ได้มีการเรียนรู้จากบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย เนื่องจากอดีตมีอาชีพหลัก คือ การทำไร่ ทำนา ทำสวน              ซึ่งเป็นการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ ไม่ใช้ปุ๋ยใช้ยาอย่างทุกวันนี้ และมีการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน และในปัจจุบันได้มีการพัฒนาต่อยอดความรู้เดิม โดยการไปศึกษาดูงานที่มีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อน และมีการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจาก Youtube โดยการลองผิดลองถูกมาเรื่อย ๆ                         จนประสบความสำเร็จ และมีการพัฒนาความรู้ด้านเกษตรกรรมให้มีความสอดคล้องกับบริบทในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนได้มีงาน มีอาชีพ และมีรายได้เกิดขึ้น โดยการปลูกเห็ดนางฟ้าในสวนยางพารา และมีการพัฒนาปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุธรรมที่มีอยู่ในชุมชน และ กศน. อำเภอเมืองนครพนม ได้จัดโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต และสามารถประกอบอาชีพได้อย่างกลมกลืน และจัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมในชุมชนขึ้น
3. กิจกรรม/โครงการที่ทำในปัจจุบัน
             จัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมในชุมชน เพื่อให้คนที่สนใจในด้านเกษตรกรรมได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และมีการจัดตั้งเป็นกลุ่ม เพื่อให้คนที่ว่างงานหรือผู้ที่มีความสนใจ             ได้มีการเรียนรู้และทำเป็นอาชีพเสริมได้
4. การช่วยเหลือชุมชนในปัจจุบัน
             เป็นวิทยากรให้ความรู้กับผู้ที่มีความสนใจในการเกษตรกรรม การปลูกเห็ดในสวนยางพารา การทำ      ปุ๋ยหมัก เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีอาชีพ และมีรายได้จากการว่างงาน
5. การช่วยเหลือการศึกษาในระบบ
             - แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมให้กับนักเรียนได้มีการศึกษาดูงาน
             - เป็นวิทยากรให้ความรู้
6. การช่วยเหลือการศึกษานอกระบบ
             - จัดนิทรรศการแสดงผลงาน
             - เป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านเกษตรกรรม
             - แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมให้กับผู้ที่สนใจ
7. การช่วยเหลือการศึกษาตามอัธยาศัย
             - เแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมประจำตำบล
             - จัดนิทรรศการแสดงผลงาน
             - การเรียนรู้ที่ไม่มีหลักสูตร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น