กศน.ตำบลบ้านผึ้ง ยินดีต้อนรับ รับสมัครนักศึกษา กศน. ตั้งแต่วันที่ 1-30 เมษายน และ 1-31 ตุลาคม ของทุกปี โทรติดต่อ 064-3314777 นายดนุพล อุตตมะ ครู กศน.ตำบลบ้านผึ้ง

ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลทั่วไปของชุมชุน

ชื่อ กศน.ตำบลบ้านผึ้ง สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครพนม   จังหวัดนครพนม   
ที่ตั้ง/การติดต่อ ตั้งอยู่ วัดบ้านนาโพธิ์  ม.17 บ้านนาโพธิ์ ตำบลบ้านผึ้ง  อำเภอเมือง  จังหวัดนครพนม  โทรศัพท์ 064-3314777 โทรสาร..........-.....................
สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครพนม
1. ด้านกายภาพ
        1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
               ตำบลบ้านผึ้งพื้นเพดั้งเดิมประชาชนอพยพมาจากประเทศลาว  และส่วนหนึ่งอพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียงเช่นจังหวัดขอนแก่นจังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดหนองคายจังหวัดเลยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และรองลงมาคือศาสนาคริสต์ ด้านประเพณีดั้งเดิมเช่น บุญกองข้าวบุญมหาชาติ  บุญข้าวประดับดินบุญบั้งไฟเป็นต้น        
                ตำบลบ้านผึ้ง มีเนื้อที่113.92 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 71,200.17 ไร่อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครพนม 20 เมตร ตั้งอยู่บนถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 สายนครพนม อุดรราชธานี โดยมีอาณาเขตดังนี้
                  ทิศเหนือ           จดตำบลโพนบก           อำเภอโพนสวรรค์          จังหวัดนครพนม
                  ทิศใต้               จดตำบลนามะเขือ         อำเภอปลาปาก            จังหวัดนครพนม
                  ทิศตะวันออก      จดตำบลโพธิ์ตาก          อำเภอเมือง                จังหวัดนครพนม
                  ทิศตะวันตก        จดตำบลกุรุคุ               อำเภอเมือง                จังหวัดนครพนม
        1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
               ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดนครพนมเป็นพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งแม่น้ำ โขง ซึ่งเป็นพื้นที่ยาวตามชายฝั่งแม่น้ำโขงถึง 153 กิโลเมตร เป็นพื้นที่มีป่าไม้สลับกับแม่น้ำลำห้วยหรือแอ่งน้ำ และมีภูเขาทางตอนบนด้านทิศเหนือของจังหวัดจังหวัดนครพนมมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 140 เมตร ความแตกต่างของสภาพภูมิศาสตร์จะแบ่งได้เป็นเขตพื้นที่  โดยตำบลบ้านผึ้งอยู่ในเขตใต้ของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ราบสูง มีแหล่งน้ำและลำห้วยขนาดใหญ่
        1.3 ภูมิอากาศ 
               จังหวัดนครพนมเมื่อพิจารณาตามลักษณะลมฟ้าอากาศของประเทศไทย แบ่งออกได้ 3 ฤดู คือ
              - ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครพนมจะได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลง ของอากาศก่อนจังหวัดอื่น ฤดูนี้ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำ ให้หนาวเย็นและแห้งแล้ง
              - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคมจะเป็นช่วงว่างของมรสุมอากาศจะร้อนอบอ้าวทั่วไปเดือนที่ร้อนจัดคือเดือนเมษายน
               - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นลมร้อนและชื้นพัดจากมหาสมุทรอินเดียปกคลุมประเทศไทยร่องความกดอากาศต่ำ ที่พาดผ่านภาคใต้จะเลื่อนขึ้นมาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ฝนตกชุก ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมและฝนจะลดลงอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป
                   ลักษณะอากาศทั่วไป จังหวัด นครพนมอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำ   2 ชนิดคือมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาวจะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ   ซึ่งเป็นลมเย็นและแห้งจากประเทศจีน และจังหวัดนครพนมจะได้รับอิทธิพลลมนี้ก่อนจังหวัดอื่น ๆอากาศจะหนาวเย็นจัดและแห้งแล้ง มรสุมอีกชนิดหนึ่งคือมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดผ่านมหาสมุทรอินเดียพาเอาไอน้ำและความชื้นมาสู่ประเทศไทย จังหวัดนครพนมจะมีฝนตกทั่วไป
               อุณหภูมิ จังหวัด นครพนมเป็นจังหวัดพื้นที่ราบสูงด้านตะวันออก ตะวันตกเหนือ และใต้โดยรอบจังหวัดจะเป็นแนวเทือกเขาล้อมรอบ บางส่วนในพื้นที่เป็นป่าทึบหนาแน่นอากาศจึงค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนและหนาวจัดในฤดูหนาว อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปี 26.57 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 18.3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35.8 องศาเซลเซียส เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน
        1.4 ลักษณะของดิน
               พื้นที่จังหวัดนครพนมเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากจะเปรียบเทียบพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกระใบใหญ่ที่ตะแคงขอบด้านหนึ่งเอียงลงไปทางเขตพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ ส่วนขอบกระทะส่วนที่เอียงสูงขึ้นได้แก่ พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ เลย   หนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม ซึ่งจังหวัดนครพนมเป็นพื้นที่ขอบกระทะที่สูงขึ้นระดับกลางที่ลาดเอียงลงไป ทางจังหวัดมุกดาหารและอำนาจเจริญ หากจะพิจารณาก็จะเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่ราบสูงและเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งแม่ น้ำโขง
              โครงสร้างทางธรณีวิทยาของพื้นที่จังหวัดนครพนมโดยทั่วไปประกอบด้วยหินชั้น หรือตะกอนของหินชุดหรือหินตะกอนที่เกิดสะสมตัวในมหายุคซีโนโซอิค สภาพธรณีสัณฐานแบ่งออกได้เป็นสภาพสันดินริมน้ำเก่าและที่ราบท่วมถึงกับสภาพ ลานตะพักลำน้ำ ซึ่งมีสภาพพื้นที่สูงกว่าที่ราบน้ำท่วมถึง วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นทั้งดินที่เกิดจาก น้ำพัดพามา ทับถมทั้งเก่าและใหม่ ส่วนใหญ่ค่อนข้างใหม่ ลักษณะตะกอนเป็นดินทราย ดินทรายแห้ง ดินร่วน เหนียวปนทรายแป้งและดินเหนียวทับถมลักษณะทั่วไปเหมือนกับจังหวัดอื่น ๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่จะแปลกแตกต่างอยู่บ้างเนื่องจากเป็นส่วนขอบกระทะ และเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งแม่น้ำโขงโครงสร้างดินประกอบด้วย
               ชั้นที่ 1 ดิน ชั้นบนเป็นดินร่วนหรือดินปนทรายหนาประมาณ 1 เมตรบางแห่งหน้าดินชั้นนี้จะเป็นแอ่งลึกลงไปเนื่องจากอาจจะเคยเป็นแอ่งน้ำ ที่ตื้นเขิน   แต่บางแห่งดินชั้นที่ 2 โผล่ขึ้นมา เป็นบริเวณกว้างเป็นดินผสมหินลูกรังหรือเป็นหินลูกรังหรือตะกอนหิน ซึ่งเป็นตะกอน   ของหินหรือหินชุด
               ชั้นที่ 2 ของโครงสร้างพื้นดินลึกลงไปจะเป็นหินลูกรังหนาประมาณ 1-2   เมตร หลายแห่งเป็นลูกรังชั้นดีและบางแห่งเป็นกรวดแม่น้ำหรือตะกอนของหินหนาประมาณ 1-2 เมตร เช่นเดียวกันอาจจะเคยเป็นทางน้ำหรือแอ่งน้ำมาก่อนเช่นในบางส่วนของอำเภอบ้าน แพงท่าอุเทน อำเภอเมืองและธาตุพนม หินกรวดจะเห็นได้ชัดเจนในแม่น้ำโขงดินชั้นนี้มีประโยชน์มากในการนำหินกรวด ดินลูกรังไปสร้างถนนถมที่เป็นสินค้าที่ขายได้ดีในทางเศรษฐกิจ
               ขั้นที่ 3 ถัด จากดินชั้นที 2 ลงไปอีกจะเป็นดินแดงหรือทรายแดงอัดแน่นมีความหนามากตั้งแต่ประมาณ 10 เมตรถึง 60 เมตร หรือมากกว่ายกเว้นทางตอนเหนือของจังหวัดจะเป็นเขตพื้นที่ภูเขาหินทรายหรือ หน่วยหินโคกกรวด
               ชั้นที่ 4 ถัด ลงไปอีกจะเป็นหินดาน หินทราย หรือหินเกลือ ตามโครงสร้างทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินชั้นนี้จะไม่ค่อยได้พบหรือนำมาใช้ประโยชน์อะไร ในสภาพการดำรงชีวิตประจำวันของท้องถิ่น
        1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
               พื้นที่ตำบลบ้านผึ้งมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และลำห้วยสาขาหลายสาย ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำสำคัญในหารหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวตำบลบ้านผึ้ง  แต่ลักษณะของแหล่งน้ำจะมีลักษณะตื้นเขิน ลำห้วยต่างๆ ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งได้ เนื่องจากไม่มีฝายชะลอน้ำ  แหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่  หนองคำไผ่  ห้วยแล้ง อ่างเก็บน้ำห้วยส้มโฮง  ห้วยเค  ห้วยคำ ฯลฯ
        1.6 ลักษณะป่าไม้
               ทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผึ้งมีพื้นที่ป่าไม้  ประมาณ  22,522 ไร่  ที่สาธารณประโยชน์ รวม 37 แห่ง ประมาณ 1,802 ไร่มีพื้นที่ป่าสงวนดงเซกา แปลที่ 1 อยู่ในพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดนครพนมจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่  ไม่มีป่าที่เป็นประเภทเดียวกันเป็นแนวต่อเนื่อง แต่จะผสมผสานกันและสลับเปลี่ยนกันไปไม่แน่นอน โดยในพื้นที่ตำบลบ้านผึ้งจะประกอบด้วย 
               ป่าแดง เป็นป่าที่จัดอยู่ในป่ามรสุมแล้ง โดยทั่วไปป่าแดงจะเกิดตามบริเวณแห้งมากเช่นดินกรวด  ทราย หรือลูกรัง ซึ่งมีธาตุอาหารน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณดินส่วนบน ซึ่งธรรมชาติกัดกร่อนไปมากหลายแห่งจะเห็นดินชั้นดินลูกรังโผล่ขึ้นมาอยู่บริเวณผิวดินการเกิดป่าแดงจะมีสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่อันเนื่องมาจากการเผาเศษไม้ ใบไม้ในฤดูแล้ง การทำไร่เลื่อนลอย รวมทั้งการตัดไม้มากเกินไป ซึ่งถ้าการกระทำเหล่านี้ดำเนินต่อไปในระยะเวลานานหลายปีก็จะทำให้ป่าเหล่านี้เสื่อมโทรมลงและกลายเป็นป่าแคระหรือป่าแดงไปในที่สุดในจังหวัดนครพนมป่าชนิดนี้พบมากและมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ทุกส่วนของจังหวัด เนื้อที่ป่าแดงที่ติดต่อกันเป็นพื้นที่ใหญ่จะพบทางตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัดพันธุ์ไม้ที่พบในป่าชนิดนี้ได้แก่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้พลวง ไม้ยาง และไม้เหียง  เป็นต้น

               ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่จัดอยู่ในประเภทป่ามรสุมชื้นและ เป็นป่าที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับป่าดงดิบแล้งและป่าแดง  บ่อยครั้งจะพบป่าเบญจพรรณอยู่ในแนวแคบๆ  ระหว่างป่าทั้งสองนี้ ต้นไม้ส่วนใหญ่ในป่าเบญจพรรณนี้จะเป็นพวกไม้ผลัดใบ ทำให้ฤดูแล้งสามารถสังเกตเห็นป่าชนิดนี้ได้ง่ายเนื่องจากต้นไม้จะทิ้งใบจนเกิดความแตกต่างกับป่าดงดิบแล้งและป่าแดงอย่างชัดเจน ในจังหวัดนครพนมป่าชนิดนี้ทางตอนใต้ของจังหวัด พันธุ์ที่พบที่สำคัญได้แก่ ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้พยุง
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
        2.1 เขตปกครอง
               ตำบลบ้านผึ้งแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 23 หมู่บ้าน ดังนี้
                          หมู่ 1      บ้านผึ้ง
                          หมู่ 2      บ้านผึ้ง
                          หมู่ 3      บ้านวังกระแส
                          หมู่ 4      บ้านวังกระแส
                          หมู่ 5      บ้านนาโพธิ์
                           หมู่ 6      บ้านนามน
                          หมู่ 7      บ้านดงสว่าง
                          หมู่ 8      บ้านเทพพนม
                          หมู่ 9      บ้านดอนม่วง
                          หมู่ 10    บ้านสุขเจริญ
                          หมู่ 11    บ้านหนองปลาดุก
                          หมู่ 12    บ้านนาโพธิ์
                          หมู่ 13    บ้านผึ้ง
                          หมู่ 14    บ้านเทพพนม
                          หมู่ 15    บ้านผึ้ง
                          หมู่ 16    บ้านวังกระแส
                          หมู่ 17    บ้านนาโพธิ์
                          หมู่ 18    บ้านหนองปลาดุก
                          หมู่ 19    บ้านน้อยนาคำ
                          หมู่ 20    บ้านหนองปลาดุก
                          หมู่ 21    บ้านหนองปลาดุก
                          หมู่ 22    บ้านหนองปลาดุก
                          หมู่ 23    บ้านหนองเดิ่นพัฒนา
        2.2 การเลือกตั้ง
               การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน แบ่งการเลือกตั้งออกเป็นเขตหมู่บ้าน จำนวน 23 เขต ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 46 คน (หมู่บ้านละ 2 คน)
                   1. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน
                   2. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 46 คน

3. ประชากร
        3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
                จำนวนประชากรแยก เป็นเพศชาย 8,309 คน  เพศหญิง 8,292 คน   รวม  16,601 คน
ตารางที่ 1 จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผึ้ง มีทั้งหมด 23 หมู่บ้าน (ข้อมูล ณ 13 ตุลาคมม 2564)
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
จำนวน
ประชากร
จำนวนประชากร
หมายเหตุ


ครัวเรือน
ชาย
หญิง
รวม

1
บ้านผึ้ง
128
233
236
469

2
บ้านผึ้ง
281
467
410
877

3
บ้านวังกระแส
238
469
512
981

4
บ้านวังกระแส
144
303
326
629

5
บ้านนาโพธิ์
263
390
391
781

6
บ้านนามน
236
423
478
901

7
บ้านดงสว่าง
200
396
381
777

8
บ้านเทพพนม
182
288
296
584

9
บ้านดอนม่วง
298
477
482
959

10
11
บ้านสุขเจริญ
บ้านหนองปลาดุก
254
183
410
209
412
206
822
415

12
บ้านนาโพธิ์
277
397
423
820

13
บ้านผึ้ง
341
583
633
1,216

14
บ้านเทพพนม
105
232
194
426

15
บ้านผึ้ง
241
443
403
846

16
บ้านวังกระแส
156
357
369
726

17
บ้านนาโพธิ์
182
336
357
693

18
บ้านหนองปลาดุก
170
303
314
617

19
บ้านน้อยนาคำ
206
421
383
804

20
บ้านหนองปลาดุก
151
260
221
481

21
บ้านหนองปลาดุก
138
308
303
611

22
บ้านหนองปลาดุก
171
357
335
692

23
บ้านหนองเดิ่นพัฒนา
164
247
227
474


รวมทั้งสิ้น
4,709
8,309
8,292
16,601




        3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร (ข้อมูล จปฐ. พ.ศ. 2564)
ช่วงอายุ
เพศชาย
เพศหญิง
รวม
น้อยกว่า 1 ปี เต็ม
25
17
42
1 ปีเต็ม – 2 ปี
112
83
195
3 ปีเต็ม – 5 ปี
294
250
544
6 ปีเต็ม – 11 ปี
609
613
1,222
12 ปีเต็ม – 14 ปี
314
306
620
15 ปีเต็ม – 17 ปี
338
350
688
18 ปีเต็ม – 25 ปี
830
795
1,625
26 ปีเต็ม – 49 ปี
2,571
2,542
5,113
50 ปีเต็ม – 60 ปีเต็ม
806
862
1,668
มากกว่า 60 ปี ขึ้นไป
780
899
1,679
รวม
6,679
6,717
13,396
              
4. สภาพทางสังคม 
        4.1 การศึกษา
               1) สถานศึกษาในพื้นที่ (ข้อมูล ตุลาคม 2564)
ที่
ชื่อสถานศึกษา
ที่ตั้ง(หมู่)
ระดับ
ผู้อำนวยการ
จำนวนนักเรียน
1
บ้านผึ้งวิทยาคม
8
มัธยมศึกษา
นายวินัย  เปี่ยมลาภโชติกุล
594
2
วังกระแสวิทยาคม
4
มัธยมศึกษา
นายสินธ์  สิงห์ศรี
388
3
บ้านหนองปลาดุก
22
ขยายโอกาส
นายอภิเชษฐบุตรวร
552
4
บ้านผึ้ง
2
ขยายโอกาส
นายเชิดชาย  วงศ์พุฒ
386
ชุมชมนามนวิทยาคาร
6
ประถมศึกษา
นายทองเย็น  สุทธะมา
236
ดงสว่างเจริญวิทย์
7
ประถมศึกษา
นายความสุข  ไชยผง
224
บ้านสุขเจริญ
10
ประถมศึกษา
นายอริยเชษฐ  แสนบรรดิษฐ
65
บ้านดอนม่วง
9
ประถมศึกษา
นางวันทิวา  มูลสาร
70
บ้านวังกระแส
4
ประถมศึกษา
นายสุรศักดิ์  ชาดีกรณ์
246
               2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน4 แห่งข้อมูล ตุลาคม 2564
ที่
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ที่ตั้ง(หมู่)
ครูผู้ดูแลเด็กประจำศูนย์
จำนวนเด็กเล็ก
1
ผึ้งหลวง
15
นางกนกวรรณ  สิงห์ผู
81
2
บ้านวังกระแส
4
นางมาลี  คำหอม
58
3
บ้านหนองปลาดุก
11
นางสาวมะลิวรรณ  บุญทวี
152
4
อบต.บ้านผึ้ง
6
นางสาวพรรณา  จะรีศรี
130
          
        3) จำแนกประชากรตามระดับการศึกษา (ข้อมูล จปฐ. 2564)
ระดับการศึกษา
เพศชาย
เพศหญิง
รวม
ไม่เคยศึกษา
227
216
443
อนุบาล/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
327
292
619
ต่ำกว่าชั้นประถมศึกษา
371
372
743
จบชั้นประถมศึกษา (ป.4,ป.7,ป.6)
3,693
3,643
7,336
มัธยมศึกษาตอนต้น(มศ.1-3, ม.1-3)
1,138
1,077
2,215
มัธยมศึกษาตอนปลาย(มศ.4-5,ม.4-6,ปวช)
651
785
1,436
อนุปริญญา หรือเทียบเท่า
145
126
271
ปริญญาตรี หรือเทียบเท่า
120
203
323
สูงกว่าปริญญาตรี
7
3
10
รวม
6,679
6,717
13,396

        4.2 สาธารณสุข
               มีหน่วยสาธารสุขในพื้นที่ จำนวน 3 แห่ง
ที่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ที่ตั้ง(หมู่)
ผู้อำนวยการ
1
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านผึ้ง

2
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นามน

3
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หนองปลาดุก
๒๒

        4.3 อาชญากรรม
               -
        4.4 ยาเสพติด
               ปัญหายาเสพติด มีพื้นที่เฝ้าระวัง คือ บริเวณบ้านหนองปาดุก ซึ่งเป็นเขตรอยต่อระหว่างอำเภอโพนสวรรค์  
        4.5 การสังคมสงเคราะห์
               ชมรมผู้สูงอายุ จำนวน   11   ชมรม ประกอบด้วย
                       - ชมรมผู้สูงอายุบ้านผึ้ง หมู่ 1,2,13,15
                       - ชมรมผุ้สูงอายุบ้านวังกระแส หมู่ 3,4,16
                       - ชมรมผุ้สูงอายุบ้านนาโพธิ์ หมู่ 5,12,17
                       - ชมรมผุ้สูงอายุบ้านเทพพนม หมู่ 8,14
                       - ชมรมผุ้สูงอายุบ้านนามน หมู่ 6
                       - ชมรมผุ้สูงอายุบ้านดอนม่วง หมู่ 9
                       - ชมรมผุ้สูงอายุบ้านหนองปลาดุก หมู่ 11,18,20,21,22
                       - ชมรมผุ้สูงอายุบ้านน้อยนาคำ หมู่ 19
                       - ชมรมผุ้สูงอายุบ้านหนองเดิ่นพัฒนา หมู่ 23
                       - ชมรมผุ้สูงอายุบ้านสุขเจริญ หมู่ 10
                       - ชมรมผุ้สูงอายุบ้านดงสว่าง หมู่ 7
5. ระบบบริการพื้นฐาน
        5.1 การคมนาคมขนส่ง
               เส้นทางหลวงแผ่นดิน   หมายเลข  22 นครพนม สกลนคร และเส้นทางใช้ติดต่อระหว่างหมู่บ้าน  ตำบล/อำเภอ/จังหวัด และมีเส้นทางเชื่อมหมู่บ้านต่าง ๆ
               - ถนนลาดยาง                 จำนวน 3 เส้น
               - ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก     จำนวน 107 เส้น
               - ถนนลูกรัง                    จำนวน 104 เส้น
        5.2 การไฟฟ้า
               ตำบลบ้านผึ้งมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน
        5.3 การประปา
               ระบบประปาหมู่บ้าน เป็นระบบประปาผิวดิน โดยทุกหมู่บ้านทั้ง 23 หมู่ จะมีประปาใช้ โดยประปาที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผึ้ง มี 4 แห่ง ได้แก่
                       1) บ้านหนองปลาดุก หมู่ 22             จำนวน 1 แห่ง
                       2) บ้านน้อยนาคำ หมู่ 19                จำนวน 1 แห่ง
                       3) บ้านหนองปลาดุก หมู่ 11             จำนวน 1 แห่ง
                       3) บ้านหนองเดินพัฒนา หมู่ 23         จำนวน 1 แห่ง
        5.4 โทรศัพท์
               บริการโทรศัพท์สาธารณะ   -   แห่ง
                หมายเหตุ: ในปัจจุบันประชาชนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่
        5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
               ที่ทำการไปรษณีย์ตำบล 1 แห่ง
6. ระบบเศรษฐกิจ   
        6.1 การเกษตร
               ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร เช่น ทำนา สวนยางพารา    มันสำปะหลัง อ้อย  สวนผัก และเลี้ยงสัตว์
        6.2 การประมง
                       -
        6.3 การปศุสัตว์
               พื้นที่ตำบลบ้านผึ้งมีการเลี้ยงสัตว์ประเภทต่างๆ ได้แก่ โคเนื้อ กระบือ ซึ่งแนวโน้มของจำนวนสัตว์ในแต่ละปีจะไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการส่งเสริมของภาคส่วนราชการ
        6.4 การบริการ
               1) ร้านค้าขนาดใหญ่          จำนวน 3 แห่ง
               2) สถานีบริการน้ำมัน         จำนวน 1 แห่ง
               3) ร้านอาหาร
               4) ร้านเสริมสวย
               5) รีสอร์ท                     จำนวน 1 แห่ง            
        6.5 การท่องเที่ยว
               อ่างเก็บน้ำห้วยส้มโฮง อยู่ในพื้นที่ บ้านนาโพธิ์ หมู่ 12
               อ่างเก็บน้ำห้วยแล้งใหญ่ อยู่ในพื้นที่ บ้านเทพพนม หมู่ 8
               หมู่บ้านวัฒนธรรมชนเผ่าไทตาด อยู่ในพื้นที่ บ้านผึ้ง
               งานบุญประเพณีบุญบั้งไฟ บ้านหนองปลาดุก หมู่ 22
               กราบนมัสการหลวงปู่เถร วัดสันตยาภิรมย์ บ้านผึ้ง หมู่ 2
        6.6 อุตสาหกรรม
               โรงงานซักผ้า         จำนวน 1 แห่ง
               โรงงานเฟอร์นิเจอร์  จำนวน 1 แห่ง
               โรงงานขนส่งสินค้า   จำนวน 1 แห่ง
        6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
               กลุ่มอาชีพ(วิสาหกิจชุมชน) จำนวน   17   กลุ่ม
        6.8 แรงงาน
       
ประเภทอาชีพ
เพศชาย
เพศหญิง
รวม
เกษตรกรรม-ทำนา
3,415
3,523
6,938
เกษตรกรรม-ทำไร่
4
7
11
เกษตรกรรม-ทำสวน
33
26
59
รับราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ
79
68
147
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
2
2
4
พนักงานบริษัท
24
27
51
รับจ้างทั่วไป
1,164
1,022
2,186
ค้าขาย
117
159
276
ธุรกิจส่วนตัว
26
29
55
อาชีพอื่นๆ
20
34
54
กำลังศึกษา
1,567
1,624
3,191
ไม่มีอาชีพ
228
196
424
รวม
6,679
6,717
13,396

        6.9 รายได้และรายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน/บุคคล  (ข้อมูล จปฐ. 2564)
               รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย/ปี       177,427 บาท
               รายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ย/ปี     115,776 บาท
               รายได้บุคคลเฉลี่ย/ปี           46,688   บาท
               รายจ่ายบุคคลเฉลีย/ปี         30,465   บาท

7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
        7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
               จำนวนประชากรชาย                   8,368  คน
               จำนวนประชากรหญิง                  8,309  คน
               จำนวนครัวเรือนทั้งหมด              4,686  ครัวเรือน
                                      พื้นที่    64, 183  ไร่
        7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร
ข้อมูลทางด้านการเกษตร (ทำนา)
หมู่บ้าน/ชุมชน
ในเขตชลประทาน
นอกเขตชลประทาน
จำนวนครัวเรือน
ต้นทุนเฉลี่ย
ราคาขายเฉลี่ย
จำนวนครัวเรือน
ต้นทุนเฉลี่ย
ราคาขายเฉลี่ย
บ้านน้อยนาคำ

0
0
120
3,200
4,800
บ้านผึ้ง
74
15,960
24,000
834
12,800
19,200
บ้านวังกระแส

0
0
444
9,600
14,400
บ้านสุขเจริญ

0
0
172
3,200
4,800
บ้านหนองปลาดุก

0
0
595
16,000
24,000
บ้านหนองเดิ่นพัฒนา

0
0
163
3,200
4,800
บ้านเทพพนม
15
5,320
8,000
145
6,400
9,600
นาโพธิ์
69
5,320
8,000
11
3,200
4,800
บ้านดงสว่าง

0
0
135
3,200
4,800
บ้านดอนม่วง

0
0
230
3,200
4,800
บ้านนามน
12
5,320
8,000
186
3,200
4,800
บ้านนาโพธิ์
106
10,640
16,000
218
6,400
9,600

ข้อมูลทางด้านการเกษตร (ทำสวน)

ข้าวโพดหวาน
ยางพารา

จำนวนครัวเรือน
ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย
ราคาขายโดยเฉลี่ย
จำนวนครัวเรือน
ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย
ราคาขายโดยเฉลี่ย
บ้านดงสว่าง
3
0
0



บ้านผึ้ง



4
7,800
3,250


    7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
แหล่งน้ำธรรมชาติ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
เพียงพอ
ไม่เพียงพอ
ทั่วถึง
ไม่ทั่วถึง
แม่น้ำ
0
1
0
1
ห้วย/ลำธาร
1
19
0
16
คลอง
0
6
0
4
หนองน้ำ/บึง
0
6
0
5
น้ำตก
0
0
0
0

แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้าง
เพียงพอ
ไม่เพียงพอ
ทั่วถึง
ไม่ทั่วถึง
แก้มลิง
0
1
0
1
อ่างเก็บน้ำ
1
3
0
3
ฝาย
1
7
0
6
สระ
1
7
0
7
คลองชลประทาน
0
1
0
1

    7.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
แหล่งน้ำกิน
ไม่มี
เพียงพอ
ไม่เพียงพอ
ทั่วถึง
ไม่ทั่วถึง
บ่อบาดาลสาธารณะ
1
1
6
0
6
บ่อน้ำตื้นสาธารณะ
1
0
5
0
5
ประปาหมู่บ้าน (ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
0
3
14
4
13
ระบบประปา (การประปาส่วนภูมิภาค)
0
0
1
0
1
แหล่งน้ำธรรมชาติ
0
1
9
1
10


8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม        
        8.1 การนับถือศาสนา
               ประชาชนในตำบลบ้านผึ้ง ส่วนใหญ่นับถือศาสนพุทธ  รองลงมานับถือศาสนาคริสต์
               สถาบันและองค์กรทางศาสนา จำนวน ๒0 แห่ง ประกอบด้วย วัด จำนวน ๑๓ แห่ง                สำนักสงฆ์ จำนวน ๕ แห่ง วัดคริสต์ จำนวน ๒ แห่ง
ที่
ชื่อสถาบัน
ที่ตั้ง(หมู่)
สถานภาพ
เจ้าอาวาส
1
วัดสันตยาภิรมณ์
2
วัด
พระทวีชัย  ติกขญาโณ
2
วัดแจ้งนฤมิตร
3
วัด
พระอุทัย
3
วัดหัวโพน
วัด
พระสมดี
4
สำนักสงฆ์ศรีรัตนวราราม
๑๖
สำนักสงฆ์
พระฉลอง   ทินวโร
วัดบ้านเทพพนม
วัด
พระกตปุญโญ
วัดเทพพนมธรรมมาราม
๑๔
วัด
พระครูปัญญาพนมกิจ
สำนักสงฆ์บ้านนาโพธิ์
๑๗
สำนักสงฆ์
พระครูโพธิสิทธิคุณ
วัดป่านามน
วัด
พระมหาวีโร  วิเศษบุญกุศล
วัดนักบุญเปาโล บ้านนามน
วัดคริสต์
คุณพ่อสุพน  ยงบรรทม
10
สำนักสงฆ์บ้านสุขเจริญ
0
สำนักสงฆ์
พระนิยม
๑๑
วัดแม่พระกัวลาลูเป บ้านสุขเจริญ
0
วัดคริสต์
คุณพ่อคัมศรณ์  กาแก้ว
๑๒
วัดบ้านน้อยนาคำ
๑๙
วัด
พระวันดี  ปัญญาวโร
๑๓
สำนักสงฆ์บ้านหนองชาติ
๑๙
สำนักสงฆ์
พระกฤษ  ฝางคำ
๑๔
วัดบ้านดอนม่วง
วัด
พระสุวิทย์   กิจทันโต
๑๕
วัดบ้านหนองเดินพัฒนา
๒๓
วัด
พระคำ   มหาบุญโญ
๑๖
สำนักสงฆ์บ้านหนองเดิ่นพัฒนา
๒๓
สำนักสงฆ์
พระมี  อัคะธัมโม
๑๗
วัดบ้านดงสว่าง
วัด
พระวิมาน
๑๘
วัดปทุมวราราม
๑๑
วัด
พระรัชเทพย์เขมปัญโญ
๑๙
วัดบ้านหนองปลาดุกน้อย
0
วัด
พระนิคม  สุกิจโต
0
วัดบ้านหนองปลาดุก
๒๒
วัด
พระครูสมุทวีศักดิ์  ตปคุโน
        8.2 ประเพณีและงานประจำปี
               - ประเพณีฮีตสิบสองคลองสิบสี่
               - บุญมหาชาติ
               - บุญบั้งไฟ
               - ประเพณีลอยกระทง
        8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
               ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อนุรักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้แก่  วิธีการทำเครื่องจักสารใช้สำหรับในครัวเรือน วิธีการทอเสื่อจากต้นกก  และวิธีการจับปลาธรรมชาติ  ภูมิปัญญาการเลี้ยงผี
               ภาษาถิ่น  ส่วนมากร้อยละ ๙๐ % พูดภาษาอิสาน ภาษาลาว ภาษาญ้อ
        8.4 สินค้าพื้นเมืองแของที่ระลึก
               สินค้า OTOP ข้าวปลอดสารพิษ “ข้าวสุข” ซึ่งเป็นข้าวที่ปลูกในพื้นที่ตำบลบ้านผึ้งและมีแหล่งผลิตอยู่ในตำบลเป็นสินค้าที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิต โดยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่าง เช่น  ข้าวไรเบอรรี่ ข้าวหอมนิล ข้าวนม ผงข้าวไรท์เบอรี่ ข้าวอบแผ่น เป็นต้น
9. ทรัพยากรธรรมชาติ  
        9.1 น้ำ
               แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญของพื้นที่ตำบลบ้านผึ้ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยส้มโฮง อ่างเก็บน้ำห้วยแล้ง หนองคำไผ่ หนองกระเบา ห้วยเซกา
        9.2 ป่าไม้
               ทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผึ้ง มีพื้นที่ป่าไม้ ประมาณ  22,522 ไร่  ที่สาธารณประโยชน์ รวม 37 แห่ง ประมาณ 1,802 ไร่
        9.3 ภูเขา
                       -
        9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
               ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในตำบลบ้านผึ้ง ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากรที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ เช่น แหล่งน้ำไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรได้ตลอดทั้งปี จึงไม่เพียงพอต่อการใช้ของประชาชนในตำบล
10. ชนเผ่าประจำตำบล
           ไทตาดกลุ่มชนเล็กๆ ที่เรียกตัวเองคือพวก ไทตาดเป็นกลุ่มชนหรือที่เรียกกันว่าชาติพันธุ์เล็กๆ ชาติพันธุ์หนึ่ง ที่อาศัยดำรงอยู่ในปริมณฑลของนครพนม  ที่มักจะไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจและมองผ่านไปหรืออาจ ไม่เคยรับรู้มาก่อนด้วยซ้ำว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์นี้ในจังหวัดนครพนม
           ไทตาดจากการศึกษาของอาจารย์ธันวา  ใจเที่ยง จากโครงการศึกษาเพื่อการพัฒนากลุ่มชน 2 ฝั่งโขง  และจากคำยืนยันของกลุ่มนักปราชญ์ประจำชุมชน ที่ได้คัดลอกประวัติของกลุ่มชาติพันธุ์ตนจากใบลาน พบว่าเป็นกลุ่มชนที่ถือว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ไทสาขาหนึ่ง ที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่อาณาบริเวณสิบสองปันนา ในแถบมณฑลยูนานของประเทศจีนในปัจจุบัน และได้อพยพแตกแยกหนีจากประเทศจีนเข้ามาอยู่ในประเทศพม่า อาศัยอยู่ในแถบลุ่มน้ำสาลวินอิระวดี จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งกับกลุ่มชนพม่า จึงต้องอพยพโยกย้ายตามแม่น้ำโขงเข้าสู่บริเวณเมืองหลวงพระบางของลาว และอพยพเคลื่อนย้ายมาสู่เมืองท่าแขกหรือแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และตั้งบ้านเรือน ไทตาด ที่บ้านผาตาด เมืองยมราช หลังจากนั้นได้ประมาณ30 ปี (พ.ศ.ช่วงนี้ไม่แน่นอน บางครั้งก็ว่า พ.ศ. 2369) จึงได้พากันอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาอาศัยอยู่บริเวณท่าวัดโอกาส เขตเมืองนครพนม หลังจากนั้นได้พากันโยกย้ายออกมาตั้งบ้านเรือนเพื่อประกอบอาชีพ โดยคนไทตาดกลุ่มใหญ่มาตั้งชุมชนอยู่บริเวณบ้านผึ้ง ตำบลบ้านผึ้ง                ส่วนหนึ่งอยู่ชุมชนบ้านหนองบัว ตำบลนาราชควาย และส่วนหนึ่งไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านนาคำกลาง  ตำบลนาทราย อำเภอเมือง ในเขตจังหวัดนครพนม และส่วนหนึ่งไปอยู่ที่บ้านพระซอง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
           คำว่า บ้านผึ้งแต่เดิมหมู่บ้านนี้ หลังการเคลื่อนย้ายออกจากบริเวณวัดโอกาส มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมห้วยผึ้ง อันเป็นที่ตั้งบ้านผึ้งปัจจุบัน แต่เดิมชื่อบ้านโคกคำ แล้วเปลี่ยนเป็นบ้านโคกดาวควัน(หลายปี) จนกระทั่งเกิดสงครามทุ่งไหหิน(ประเทศลาว) มีนายทหารไทยที่ชื่อ  หลวงมนได้รับบาดเจ็บจากศึกสงครามคราวนั้น ได้รับการช่วยเหลือจากชาวบ้านโคกดาวควัน และถูกนำมารักษาตัวที่บ้านโคกดาวควัน ต่อมาบ้านโคกดาวควันจึงเปลี่ยนเป็นบ้านพึ่ง(พา)(หมายถึงการพึ่งพาอาศัย) และกลายเป็นบ้านผึ้ง  ในที่สุด
ภาษา ไทตาด
          ภาษาของกลุ่มไทตาด จัดว่าอยู่ในกลุ่มภาษาไท-กะได(Tai-Kadai) ซึ่งเป็นภาษาไทยตระกูลหนึ่ง ลักษณะทางภาษา ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่ใช้ภาษาที่มีรากศัพท์เช่นเดียวกับคำในภาษาถิ่นอื่นๆ ทั่วๆ ไป มีสำเนียงคล้ายๆ ไทญ้อ ไทลาว ไทผู้ไท แต่มีเอกลักษณ์พิเศษตรงคำลงท้ายที่มักมีคำว่า เห้อตามหลัง เช่น ไปไสเห้อ” “มาแต่ได๋เฮ้อ”  และคำว่า นะเช่น บ่ไปนะ”  มักออกเสียงภาษาไทยชัดเจ เช่น ควาย เกลือ ผีเสื้อ นอกจากนี้ในภาษาของกลุ่มไทตาดดั้งเดิม ยังใช้อักษรควบ เช่น ควขว เหมือนในภาษาราชการในปัจจุบัน
          อย่างคำว่าขวา ที่ภาษาอิสานกลุ่มอื่นๆ เช่น ลาว มักใช้คำว่าขัว แต่ภาษาไทตาด ใช้คำว่า ขวา
          อย่างคำว่าควาย ที่ภาษาอิสานกลุ่มอื่นๆ เช่น ลาว มักใช้คำว่าควย แต่ภาษาไทตาด ใช้คำว่า ควาย
การละเล่นของชาว ไทตาด
           เดิมในชุมชนของชาว ไทตาดยังไม่ปรากฏที่จะนิยมการร้องรำ เหมือนผู้คนในภาคอีสานทั่วไป การรับวัฒนธรรมการพูดผญา เป่าแคน สีซอ เข้ามาภายหลังการเข้ามาอยู่ในสังคมวัฒนธรรมลาวลุ่มแม่น้ำโขง ในช่วงเข้ามาอยู่หลวงพระบาง มากกว่าจะติดตัวอันเป็นประเพณีดั้งเดิม และเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทตาดเอง
           ในประเพณีการละเล่นที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาว ไทตาดคือ การลงข่วงที่ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายเข็นฝ้าย และฝ่ายชายจะเข้ามาพูดคุยในยามกลางคืน เป็นการเปิดโอกาสให้ชายหนุ่มและหญิงสาวได้พูดเกี้ยว เป็นผญาเกี้ยวสาว อันเป็นถ้อยคำและกิจกรรมคนหนุ่มสาวของชาวอีสาน และชาวลาวลุ่มน้ำโขงทั่วไปกระทำกัน ชาวบ้านกล่าวว่าเป็นประเพณีดั้งเดิมประจำหมู่บ้านหลังการมาตั้งบ้านเรือนในแถบนครพนมแล้ว
          การละเล่น ตาดกินดอง”  เป็นการละเล่นของชาว ไทตาดซึ่งจะละเล่นกันในงานพิธี กินดอง(งานแต่งงาน) ของชาว ไทตาดเป็นการละเล่นที่สนุกสนาน โดยชายและหญิงจะเต้นประกอบจังหวะดนตรีที่คึกครื้น มีอุปกรณ์ประกอบการละเล่น เช่น สาก ครก และอุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ ซึ่งประยุกต์มาจากประเพณีการกินดองของไทตาด   ซึ่งก่อนวันกินดอง ชาวไทตาดผู้ชาย จะช่วยกันเตรียมสถานที่ หาเขียง หาฟื้น หาครก หาสาก หาหวด หาอาหาร  ส่วนผู้หญิงก็จะช่วยจัดจัดเตรียมอาหารเพื่อใช้ในวันกินดอง
๑๑. ทำเนียบครู / ผู้ปฏิบัติงาน กศน.ตำบล
ลำดับที่
ชื่อ-สกุล
ตำแหน่ง
ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
.
นายดนุพล  อุตตมะ
ครู กศน.ตำบล
๒๕๖๑-ปัจจุบัน
.



                              
๑๒. แหล่งวิทยากรชุมชน /และทุนด้านงบประมาณ ที่นำมาใช้ประโยชน์ เพื่อการจัดการศึกษา
ประเภทบุคคล
ลำดับที่
ชื่อ-สกุล
ความถนัดด้านอาชีพ
 ที่อยู่
ประสบการณ์
.
นางจรรยา อ่อนจิต
จักสานจากไม้ไผ่
บ้านผึ้ง หมู่ที่ ๒
๕ ปี
.
นางพิศวาส อุปครุธ
การทำกล้วยฉาบ กล้วยทอด
บ้านผึ้ง หมู่ที่ ๑๕
๒ ปี
นางเจริญ ซางคำ
การสานหวด
บ้านผึ้ง หมู่ที่ ๑
๓ ปี
๔.
นางบุญยงค์ ฝ่ายเพีย
การสานตะกร้าพลาสติก
บ้านเทพพนม หมู่ที่ ๘
๔ ปี
๕.
นายศักดิ์สิทธิ์ จันทร์เพ็ง
การทำเกษตรแบบผสมผสาน
บ้านนาโพธิ์ หมู่ที่ ๑๗
๕ ปี
๖.
นายเบี้ยว  ผาเคน
การทำไม้กวาด
บ้านนามน หมู่ที่ ๑๒
๕ ปี
๗.
นายณัฐฐา ทีราช
การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
บ้านผึ้ง หมู่ที่ ๑๕
๔ ปี
๘.
นางสาววาสนา สุวรรณรงค์
การทำเกษตรแบบผสมผสาน
บ้านสุขเจริญ หมู่ที่ ๑๐
๓ ปี





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น